วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2556


แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
รายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน           รหัสวิชา ว23101                            กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
โรงเรียนประสาทรัฐประชากิจ          ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3         ภาคเรียนที่ 1 
เรื่อง การปฐมนิเทศนักเรียน                                                                       เวลา  1 ชั่วโมง
…………………………………………………………………………………

จุดประสงค์

            1. เพื่อทำความรู้จักและสร้างความคุ้นเคยระหว่างครูกับนักเรียน
            2. เพื่อทำความเข้าใจกับนักเรียน เรื่องคะแนน เวลาเรียน ระเบียบปฏิบัติ และกติกาในการเรียน
                วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน
3. เพื่อให้นักเรียนทราบข้อปฏิบัติ และข้อควรระวังในการทำกิจกรรมในชั้นเรียน
            4. เพื่อให้นักเรียนมีเวลาในการเตรียมตัวล่วงหน้า และพร้อมที่จะเรียนเนื้อหาในชั่วโมงต่อไป

เนื้อหา

1.) หน่วยการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน  ว23101 ที่จะเรียนในภาคเรียนที่ 1/2555 มี ดังนี้
            หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 แรง งานและพลังงาน (14 ชั่วโมง) ซึ่งมีสาระการเรียนรู้ ดังนี้
                                - ความเร่ง, แรงกิริยา-ปฏิกิริยา, แรงลอยตัว
                                - แรงเสียดทาน
                                -โมเมนต์ของแรง
                                    - งานและกำลัง, พลังงานกล
                    หน่วยการเรียนรู้ที่ 2ไฟฟ้า (18 ชั่วโมง) ซึ่งมีสาระการเรียนรู้ ดังนี้
                                - การผลิตกระแสไฟฟ้า
                                - ความต่างศักย์ไฟฟ้า  กระแสไฟฟ้าและความต้านทาน
                                - กำลังไฟฟ้าและพลังงานไฟฟ้า
                                - การต่อวงจรไฟฟ้า
                                - เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านและการคำนวณค่าไฟฟ้า
                   - การใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัดและปลอดภัย
                หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 อิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น (10 ชั่วโมง) ซึ่งมีสาระการเรียนรู้ ดังนี้
                                - อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
                                - การต่อวงจรอิเล็กทรอนิกส์
                                - ประโยชน์ของอิเล็กทรอนิกส์
                                - การออกแบบและสร้างวงจรอิเล็กทรอนิกส์อย่างง่าย
                หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 เอกภพ (18 ชั่วโมง) ซึ่งมีสาระการเรียนรู้ ดังนี้
                                - ระบบสุริยะ
                                - กาแลกซีและเอกภพ
                                - กลุ่มดาวฤกษ์
                                - เทคโนโลยีอวกาศ

กิจกรรมการเรียนการสอน

        1. ครูบอกหน่วยการเรียนรู้ และสาระการเรียนรู้ ที่จะเรียนในภาคเรียนที่ 2 จำนวน 4 เรื่อง คือ แรง งานและพลังงาน, ไฟฟ้า, อิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น และเอกภพ ครูแจ้งตัวชี้วัดและอภิปรายถึงเนื้อหาที่จะเรียนร่วมกันกับนักเรียน
       2. ครูและนักเรียนตกลงหลักเกณฑ์การวัดผลและการให้คะแนนในส่วนต่างๆร่วมกัน โดยเขียนบนกระดานจากคะแนนเต็ม 100 คะแนน เป็นดังนี้
                1. อัตราส่วนคะแนนระหว่างภาคต่อปลายภาค  =  80 :   20
                2. คะแนนระหว่างเรียนแบ่งเก็บดังนี้
                                2.1. คะแนนด้านความรู้     40 คะแนน
                                2.2. คะแนนด้านทักษะ      30  คะแนน
                                2.3. คะแนนด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์  10  คะแนน
3. ข้อตกลงเกี่ยวกับหลักการ ข้อปฏิบัติและกฎระเบียบในการเรียนการสอนในห้องเรียน ดังนี้
        1. นักเรียนต้องเข้าเรียนไม่ต่ำกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ของเวลาเรียนทั้งหมด
        2. ไม่หยอกล้อ พูดคุยเสียงดัง หรือส่งเสียงรบกวนเพื่อนนักเรียน ในเวลาเรียน
        3. นักเรียนต้องเข้าเรียนให้ตรงเวลา
        4. หากมีความจำเป็นต้องออกจากห้องเรียน ต้องขออนุญาตครูผู้สอนก่อนทุกครั้ง
        5. ไม่นำอาหารมารับประทานในห้องเรียนขณะครูสอน
        6. หากมีข้อสงสัยขณะเรียน ให้สอบถามครูได้ทันที
        7. ข้อตกลงอื่นๆ โดยตกลงกับนักเรียน ดังนี้
                - นักเรียนทุกคนต้องมีสมุดเพื่อจดบันทึกและทำแบบฝึกหัด คนละ 1 เล่ม     
              4.  ข้อตกลงในการปฏิบัติการทดลอง ซึ่งในภาคเรียนนี้จะมีการทำการทดลองด้วยนั้น ดังนี้
                    1. ก่อนทำการทดลองต้องฟังคำชี้แจงให้เข้าใจอย่างถ่องแท้
                    2. ทำการทดลองตามที่กำหนดท่านั้น
                    3. ไม่นำอุปกรณ์ในการทดลองมาใช้ด้วยจุดประสงค์อื่นใดนอกเหนือจากการทดลอง
                    4. ก่อนใช้อุปกรณ์การทดลองต้องได้รับอนุญาตจากครูผู้สอน
                    5. ใช้อุปกรณ์ต่างๆ ด้วยความระมัดระวัง
                    6. ห้ามนำอุปกรณ์การทดลองออกจากห้องปฏิบัติการ
                    7. ไม่หยอกล้อกันหรือแสดงพฤติกรรมอื่นใดที่นอกเหนือจากการทดลอง
                    8. ไม่นำอาหารมารับประทานในห้องปฏิบัติการ
                    9. ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับเรื่องความปลอดภัยในการทดลองต่างๆ อย่างเคร่งครัด
                 10. ครูบอกให้นักเรียนศึกษาเรื่องที่จะเรียนในชั่วโมงต่อไปล่วงหน้า (เรื่อง ผลของแรงต่อความเร่งของวัตถุ)

สื่อการเรียนการสอน

                1. ตัวชี้วัดรายวิชาวิทยาศาสตร์ 5  ว23101
2. หนังสือเรียนวิทยาศาสตร์ 5 ของ สสวท.

การวัดและประเมินผล

การวัดผลประเมินผลด้าน
วิธีการวัด

เครื่องมือวัด

เกณฑ์การผ่าน
1.ด้านความรู้ความเข้าใจ
1. วัดจากสอบถาม

1.แบบสอบถาม

1. ตอบคำถามถูกมากกว่าหรือเท่ากับ
3 ข้อขึ้นไป
2. ด้านทักษะกระบวนการ
-
-
-
3.  ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์
การสังเกตพฤติกรรมความสนใจและตั้งใจเรียน
แบบสังเกตพฤติกรรมความสนใจและตั้งใจเรียน
ได้คะแนนในระดับ 2 ขึ้นไป

กิจกรรมเสนอแนะ

                ครูควรแนะนำเทคนิค วิธีเรียนวิชาวิทยาศาสตร์  5  ให้ประสบความสำเร็จ และมีแบบทดสอบก่อนเรียนให้นักเรียนทำ


แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 2
รายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน           รหัสวิชา ว23101                          กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
โรงเรียนประสาทรัฐประชากิจ          ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3         ภาคเรียนที่ 1 
สาระที่ 4   หน่วยที่ 1                           เรื่อง ผลของแรงต่อความเร่งของวัตถุ                เวลา 2.00 ชั่วโมง
มาตรฐาน ว 4.1 เข้าใจธรรมชาติของแรงแม่เหล็กไฟฟ้า  แรงโน้มถ่วง และแรงนิวเคลียร์
มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างถูกต้อง
และมีคุณธรรม

มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์อย่างถูกต้อง
และมีคุณธรรม

……………………………………………………………………………………………………….
แนวความคิดหลัก
เมื่อมี แรงกระทําตอวัตถุทําให วั ตถุเคลื่อนที่สามารถวัดอัตราเร็วหรือขนาดของความเร็วของการเคลื่อนที่ไดจากการใชเครื่องเคาะสัญญาณเวลา วัตถุที่เคลื่อนที่โดยมีความเร็วเปลี่ยนไป เรียกวาวัตถุเคลื่อนที่ โดยมีความเรง โดยความเรงจะมีทิศเดียวกับทิศของแรงลัพธที่กระทําตอวัตถุ

 

ตัวชี้วัด

                1.อธิบายความเร่งและผลของแรงลัพธ์ที่ทำต่อวัตถุ (4.1-1)


จุดประสงค์การเรียนรู้

1. ทดลองและอธิบายความหมายของความเรง
2. ทดลองและอธิบายผลของแรงลัพธ ที่กระทําตอวัตถุทําใหวัตถุนั้นมีความเรงในทิศเดียวกับแรงลัพธ์

 

เนื้อหา (รายละเอียดของเนื้อหาอยู่ในใบความรู้ที่ 1)

- ผลของแรงต่อความเร่งของวัตถุ
                - กิจกรรม 2.8 การวัดความเร็วในการเคลื่อนที่ของกระดาษ
                - กิจกรรม 2.9 การศึกษาความเร็วในการตกของวัตถุ
การจัดกระบวนการเรียนรู้
1. ขั้นสร้างความสนใจ
1.นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน เรื่อง ผลของแรงต่อความเร่งของวัตถุ
2. ครูทบทวนเรื่องของแรงว่าแรงทำอะไรได้บ้าง ให้ผู้เรียนอภิปราย ซึ่งได้ข้อสรุปว่าแรงอาจทำให้วัตถุเปลี่ยนรูปร่าง เปลี่ยนสภาพการเคลื่อนที่ โดยเปลี่ยนจากหยุดนิ่งเป็นการเคลื่อนที่ หรือวัตถุที่เคลื่อนที่อยู่แล้วเมื่อมีแรงกระทำอาจทำให้วัตถุเคลื่อนที่เร็วขึ้นหรือหยุดนิ่ง หรือเปลี่ยนทิศทาง จากนั้นทบทวนความหมายของความเร็วของการเคลื่อนที่ของวัตถุ เพื่อนำเข้าสู่กิจกรรม 2.8

2. ขั้นสำรวจและค้นหา
                1. ครูให้นักเรียนแบ่งเป็นกลุ่มๆ ละ 4-5 คน และทำกิจกรรม 1.1
กิจกรรม 2.8 การวัดความเร็วในการเคลื่อนที่ของกระดาษ
จุดประสงค์ของกิจกรรม
1. ทดลองและวัดขนาดความเร็วของการเคลื่อนที่ของวัตถุโดยใช้เครื่องเคาะสัญญาณเวลา
2. บอกได้ว่าวัตถุเคลื่อนที่เร็วหรือช้าจากการสังเกตระยะห่างระหว่างจุดบนแถบกระดาษ
เวลาที่ใช้
                - อภิปรายก่อนกิจกรรม      10 นาที
                - ทำกิจกรรม                         20 นาที
                - อภิปรายหลังกิจกรรม       30 นาที
วัสดุอุปกรณ์

รายการ
ปริมาณต่อกลุ่ม
1. เครื่องเคาะสัญญาณเวลา
2. หม้อแปลงโวลต์ต่ำ 4 – 6 โวลต์
3. แถบกระดาษ
4. กระดาษคาร์บอน
1 เครื่อง
1 เครื่อง
1 ม้วน
1 แผ่น

การเตรียมล่วงหน้า
     1) ตัดกระดาษคาร์บอนให้เป็นแผ่นกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3, 5 เซนติเมตรหรือกะประมาณให้ปลายแหลมของคันเคาะสามารถเคาะลงบนกระดาษคาร์บอนได้ทุกครั้งในขณะที่กระดาษคาร์บอนหมุนไป
     2) ตรวจสอบอุปกรณ์ หม้อแปลง และเครื่องเคาะสัญญาณเวลา ให้อยู่ในสภาพพร้อม
ใช้งาน


ข้อเสนอแนะ
เมื่อเครื่องเคาะสัญญาณเวลาทำงาน ปลายเคาะ 1 ครั้ง ควรเป็นจุดเดียว ถ้ามีลักษณะเป็นจุดคู่ ควรลดแรงเคลื่อนไฟฟ้าให้ต่ำลง
                       
                2. ครูนำอภิปรายก่อนกิจกรรม โดยให้ความรู้เกี่ยวกับการทำงานของเครื่องเคาะสัญญาณเวลา โดยเน้นว่าจุด 2 จุดที่ถัดกันจะมีระยะเวลาห่างกันเท่า ๆ กันเท่ากับ      วินาที พร้อมกับอธิบายการติดตั้งอุปกรณ์
วิธีทำการทดลอง
                     1) ต่อหม้อแปลงโวลต์ต่ำ (4-6โวลต์) เข้ากับเครื่องเคาะสัญญาณเวลา สอดแถบกระดาษผ่านช่องใต้คันเคาะของเครื่องเคาะสัญญาณเวลา โดยให้แถบกระดาษอยู่ใต้กระดาษคาร์บอน
                     2) เปิดสวิตซ์ให้เครื่องเคาะสัญญาณเวลาทำงาน แล้วดึงแถบกระดาษด้วยความเร็วไม่เท่ากัน ให้ผ่านเครื่องเคาะสัญญาณเวลา
                     3) ทำซ้ำข้อ 2. โดยเปลี่ยนแถบกระดาษอีก 2 ครั้ง
ตัวอย่างผลการทดลอง
จุดบนแถบกระดาษเมื่อดึงแถบกระดาษด้วยความเร็วไม่เท่ากัน ดึงช้า ๆ ด้วยความเร็วสม่ำเสมอ ดึงเร็ว ๆ ด้วยความเร็วสม่ำเสมอ และดึงให้เร็วขึ้นเรื่อย ๆ
ความเร็วไม่เท่ากัน

ดึงช้า ด้วยความเร็วสม่ำเสมอ

ดึงเร็ว ด้วยความเร็วสม่ำเสมอ

ดึงให้เร็วขึ้นเรื่อย

 

3. ขณะนักเรียนทำกิจกรรม ครูเดินดูและให้คำแนะนำตามความเหมาะสม
                4. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายผลการทดลองและตอบคำถามดังนี้
     - การดึงแถบกระดาษช้าหรือเร็ว มีผลต่อระยะระหว่างจุดบนถบกระดาษอย่างไร (เมื่อดึงแถบกระดาษช้า ๆ แต่ละจุดจะอยู่ชิดกัน แต่เมื่อดึงกระดาษเร็ว ๆ  แต่ละจุดจะอยู่ห่างกันมาก)
 5. ครูนำอภิปราย จนผู้เรียนสรุปได้ว่า เมื่อดึงแถบกระดาษด้วยความเร็วที่ต่างกันระยะห่างแต่ละจุดจะห่างไม่เท่ากัน โดยถ้าดึงแถบกระดาษช้า ๆ แต่ละจุดจะอยู่ชิดกัน ถ้าดึงกระดาษเร็วแต่ละจุดจะห่างกัน ถ้าดึงแถบระดาษด้วยความเร็วสม่ำเสมอแต่ละจุดจะห่างเท่า ๆ กัน สามารถหาขนาดของความเร็วเฉลี่ยของการเคลื่อนที่ได้จากอัตราส่วนระหว่างขนาดของการกระจัดและเวลาที่ใช้
6. ครูนำอภิปรายว่า เมื่อเปลี่ยนให้วัตถุตกลงสู่พื้น วัตถุจะเคลื่อนด้วยความเร็วสม่ำเสมอหรือไม่ รู้ได้อย่างไร เพื่อนำเข้าสู่กิจกรรม 2.9

กิจกรรม 2.9 การศึกษาความเร็วในการตกของวัตถุ
จุดประสงค์ของกิจกรรม
1. ทดลองและวัดความเร็วของการเคลื่อนที่ของวัตถุที่ตกสู่พื้น
2. บอกได้ว่าในการตกของวัตถุ วัตถุเคลื่อนที่โดยมีความเร่ง
3. ทดลองและคำนวณหาความเร่งในการเคลื่อนที่ของวัตถุได้
เวลาที่ใช้
                - อภิปรายก่อนกิจกรรม      10 นาที
                - ทำกิจกรรม                         20 นาที
                - อภิปรายหลังกิจกรรม       30 นาที
วัสดุอุปกรณ์

รายการ
ปริมาณต่อกลุ่ม
1. เครื่องเคาะสัญญาณเวลา
2. หม้อแปลงโวลต์ต่ำ 4 – 6 โวลต์
3. แถบกระดาษ
4. กระดาษคาร์บอน
5. กระดาษกาว (หรือลวดเสียบกระดาษ)
6. ถุงทราย
1 เครื่อง
1 เครื่อง
1 ม้วน
1 แผ่น
1 ม้วน
1 ถุง

                7. ครูนำอภิปรายก่อนทำกิจกรรม ดังนี้
     1) การวางเครื่องเคาะสัญญาณเวลาให้วางตามแนวดิ่งดังภาพในหนังสือเรียน ขณะที่ทำการทดลองต้องยึดเครื่องเคาะสัญญาณเวลาให้อยู่กับที่โดยใช้มือยึด หรือใช้มือจับรูปตัว C
     2) ในการยึดถุงทรายให้ติดกับปลายแถบกระดาษให้สอดปลายแถบกระดาษเข้าในห่วงถุงทราย แล้วใช้กระดาษกาวหรือลวดเสียบกระดาษหนีบกระดาษให้ติดกับห่วง
     3) ควรจับกระดาษให้ตรงและให้แถบกระดาษอยู่ในแนวดิ่ง





วิธีทำการทดลอง
                     1) ต่อหม้อแปลงโวลต์ต่ำเข้ากับเครื่องเคาะสัญญาณเวลาที่วางตรงขอบโต๊ะ โดยให้ช่องสอดแถบกระดาษของเครื่องเคาะสัญญาณเลาอยู่ในแนวดิ่ง และอยู่ห่างขอบโต๊ะ ดังภาพ
                     2) ยึดถุงทรายให้ติดกับปลายข้างหนึ่งของแถบกระดาษ สอดแถบกระดาษเข้าในช่องของเครื่องเคาะสัญญาณเวลา โดยใช้ถุงทรายอยู่ด้ายล่างและอยู่ใกล้เครื่องเคาะสัญญาณเวลามากที่สุด
                     3) เปิดสวิตซ์ให้เครื่องเคาะสัญญาณเวลาทำงาน แล้วปล่อยให้ถุงทรายตกสู่พื้น สังเกตช่วงห่างระหว่างจุดบนแถบกระดาษ
                     4) ตัดแถบกระดาษจากข้อ 3) แต่ละช่วงจุด แล้วนำไปติดบนกระดาษกราฟ เรียงตามลำดับ โดยให้แต่ละแถบอยู่ห่างก้นเป็นระยะที่เท่ากัน ลากเส้นเชื่อมต่อระหว่างจุดกึ่งกลางด้านกว้างของแถบกระดาษแต่ละแถบ

ตัวอย่างกราฟที่ได้จากการทำกิจกรรม






               





8. ขณะนักเรียนทำกิจกรรม ครูเดินดูและให้คำแนะนำตามความเหมาะสม
                9. ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายผลการทดลองและตอบคำถามดังนี้
     - กราฟที่ได้มีลักษณะอย่างไร (กราฟที่ได้เป็นกราฟเส้นตรง)
     - ถ้าโยนลูกบอลขึ้นในแนวดิ่ง ลูกบอลจะเคลื่อนที่เร็วขึ้นหรือช้าลงอย่างไร (ลูกบอลจะเคลื่อนที่ช้าลง โดยจะมีความเร็วลดลงอย่างสม่ำเสมอ)
     - ในรถยนต์ที่มาตรวัดอัตราเร็วชำรุด จะมีวิธีการสังเกตได้อย่างไรว่ารถเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงตัวหรือไม่ (สังเกตว่าในช่วงเวลาเท่า ๆ กัน รถเคลื่อนที่ได้ระยะทางเท่ากันหรือไม่   โดยดูจากมาตรวัดระยะทาง และสังเกตด้วยว่าทิศทางเปลี่ยนหรือไม่ ถ้าทิศในการเคลื่อนที่เปลี่ยนไปความเร็วก็ไม่คงตัว)
                10. ครูนำอภิปราย จนผู้เรียนสรุปได้ว่า จุดบนแถบกระดาษแต่ละจุดจะห่างกันมากขึ้น แสดงว่าในการตกของถุงทรายความเร็วของถุงทรายจะเพิ่มขึ้น อัตราส่วนระหว่างความยาวแถบกระดาษแต่ละช่วงจุดกับเวลา 1 ช่วงจุดคือ ขนาดความเร็วในช่วงเวลานั้น เมื่อเขียนกราฟแสดงความสัมพันธ์ระหว่างความยาวของแถบกระดาษแต่ละช่วงจุดกับเวลา 1 ช่วงจุด จะได้กราฟเส้นตรง
11. ครูให้ผู้เรียนหาค่าอัตราส่วนระหว่างขนาดของความเร็วที่เปลี่ยนไปกับช่วงเวลา    ช่วงเวลาที่ใช้ โดยให้แต่ละกลุ่มนำเสนอค่าที่คำนวณได้ ซึ่งควรได้ค่าใกล้เคียงกันอยู่ระหว่าง 9 – 10  เมตร/วินาที2 ครูให้ความรู้ว่าอัตราส่วนระหว่างขนาดของความเร็วที่เปลี่ยนไปกับช่วงเวลาที่ใช้นี้เรียก ความเร่ง ดังนั้นในการตกของถุงทรายจะสรุปได้ว่าถุงทรายจะเคลื่อนที่โดยมีความเร่งประมาณ 10 เมตร/วินาที2 ทิศดิ่งลง
12. ครูตั้งประเด็นให้ผู้เรียนอภิปรายว่าเมื่อวัตถุตกสู่พื้นมีแรงกระทำอะไรบ้าง แรงลัพธ์ของแรงที่กระทำต่อวัตถุอยู่ในทิศใด รู้ได้อย่างไร ซึ่งจากการอภิปรายควรได้ข้อสรุปว่า ขณะที่วัตถุตกสู่พื้นมีแรงที่โลกดึงดูดวัตถุและแรงต้านอากาศ แรงลัพธ์ของแรงทั้งสองอยู่ในทิศดิ่งลง เนื่องจากถ้ามีแรงกระทำต่อวัตถุที่หยุดนิ่ง วัตถุจะเคลื่อนที่ไปในทิศเดียวกับแรงลัพธ์
13. ครูตั้งประเด็นให้ผู้เรียนวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างแรงลัพธ์และความเร่ง ควรได้ข้อสรุปว่าเมื่อมีแรงกระทำต่อวัตถุจะทำให้วัตถุเคลื่อนที่โดยมีความเร่ง โดยความเร่งจะมีทิศเดียวกับทิศของแรงลัพธ์เมื่อมีแรงกระทำต่อวัตถุนอกจากจะทำให้วัตถุมีความเร่งแล้ว แรงที่กระทำยังมีผลต่อลักษณะการเคลื่อนที่ของวัตถุอีกด้วย ซึ่งจะได้ศึกษาต่อไป
                14. ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนสอบถามเนื้อหา เรื่อง ผลของแรงต่อความเร่งของวัตถุ ว่ามีส่วนไหนที่ไม่เข้าใจและให้ความรู้เพิ่มเติมในส่วนนั้น   
   
3. ขั้นลงข้อสรุป
                1. ครูมอบหมายให้นักเรียนสรุปความคิดรวบยอดเกี่ยวกับเนื้อหาที่ได้เรียนในวันนี้และทำกิจกรรมตามใบงานที่ 1 นำส่งในคาบเรียนถัดไป
                2. นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน
                3. นักเรียนและครูร่วมกันเฉลยแบบทดสอบหลังเรียน ครูเสริมแรงโดยชมเชยนักเรียนที่สอบผ่าน สำหรับนักเรียนที่สอบไม่ผ่านครูให้กำลังใจและให้นักเรียนที่สอบผ่านสอนเสริมให้นอกเวลาเรียน
                4. ครูมอบหมายให้นักเรียนไปศึกษาความรู้ เรื่อง การตกแบบเสรีและการเคลื่อนที่แนวโค้ง   ซึ่งจะเรียนในคาบต่อไปมาล่วงหน้า



สื่อการเรียนการสอน
                1. แบบทดสอบก่อน-หลังเรียน
2. ใบความรู้ที่  เรื่อง ผลของแรงต่อความเร่งของวัตถุ
3. ใบงานที่ 1 เรื่อง ผลของแรงต่อความเร่งของวัตถุ
                4. อุปกรณ์ที่ใช้ในการศึกษาทดลอง

การวัดผลประเมินผล


การวัดผลประเมินผลด้าน
วิธีการวัด
เครื่องมือวัด
เกณฑ์การผ่าน
1.ด้านความรู้ความเข้าใจ
1.วัดจากแบบทดสอบก่อน-หลังเรียน

1. แบบทดสอบก่อน-หลังเรียน

1. ตอบคำถามถูกมากกว่าหรือเท่ากับ 60% ข้อขึ้น

2.วัดจากการตอบคำถามตามใบงานที่ 1
2.ใบงานที่ 1
2. ตอบคำถามถูกมากกว่าหรือ เท่ากับ 60%ขึ้นไป
2. ด้านทักษะกระบวนการ
ประเมินจากทักษะการทดลอง การออกแบบการทดอง
แบบประเมินด้านทักษะการทำงาน
ได้คะแนนในระดับ 2 ขึ้นไป
3.  ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์
การสังเกตพฤติกรรมความสนใจ และตั้งใจเรียน
แบบสังเกตพฤติกรรมความสนใจและตั้งใจเรียน
ได้คะแนนในระดับ 2 ขึ้นไป

กิจกรรมเสนอแนะ :: ความรู้เพิ่มเติมสำหรับครู
 1. เครื่องเคาะสัญญาณเวลา ส่วนประกอบที่สำคัญประกอบด้วยขดลวดพันรอบแกนเหล็กอ่อน เมื่อให้ไฟฟ้ากระแสสลับผ่านขดลวดจะทำให้แกนเหล็กอ่อนมีอำนาจแม่เหล็กเป็นจังหวะ จะดูดคันเคาะซึ่งเป็นเหล็กให้ปลายแหลมของคันเคาะกดบนกระดาษคาร์บอน ไฟฟ้ากระแสสลับนั้นมีแรงเคลื่อนไฟฟ้าเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาด้วยความถี่ 50 เฮิรตซ์ จึงมีผลทำให้กระแสไฟฟ้าที่ผ่านวงจรต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงตามความถี่นี้ด้วย
จากกราฟใน 1 ช่วงคลื่น จะมีกระแสสูงสุด 2 ครั้ง คือทางบวกและลบ ซึ่งจะทำให้แกนเหล็กเกิดอำนาจแม่เหล็ก 2 ครั้งด้วย ใน 1 วินาทีมี 50 ช่วงคลื่น ดังนั้นแกนเหล็กจะเกิดอำนาจแม่เหล็ก 100 ครั้ง และจะคันเคาะ 100 ครั้งด้วย 
แต่เราต้องการให้คันเคาะกดกระดาษคาร์บอน 50 ครั้งใน 1 วินาที จึงใส่วัสดุอิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่งเรียกว่า ไดโอด (diode) ซึ่งยอมให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านทางเดียว ไดโอดนี้จะทำหน้าที่ตัดกระแสไฟฟ้าสลับให้เหลือเพียงครึ่งเดียวดังกราฟในรูป
ดังนั้นเมื่อให้กระแสไฟฟ้าสลับผ่านไดโอดก่อน แล้วไปผ่านขดลวดจะทำให้แกนเหล็กอ่อนมีอำนาจแม่เหล็กเพียง 50 ครั้ง ใน 1 วินาที นั่นคือคันเคาะจะถูกดูดให้กดกระดาษคาร์บอน 50 ครั้งใน 1 วินาทีด้วย ใน 1 วินาที จะเกิดจุดบนแถบกระดาษ 50 จุด เวลาที่ใช้จากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งที่ถัดกันเท่ากับ    วินาที เรียกเวลาระหว่างจุด 2 จุด ที่ถัดกันว่า เวลา 1 ช่วงจุด ซึ่งเท่ากับ  วินาที และเรียกเวลาระหว่าง 3 ช่วงจุดที่ถัดกันว่า เวลา 2 ช่วงจุด ซึ่งเท่ากับ  วินาที
แสดงส่วนประกอบของเครื่องเคาะสัญญาณเวลา



2. การหาขนาดความเร็วหาจากอัตราส่วนของขนาดการกระจัดกับเวลาที่ใช้ คือ เวลา 1 ช่วงจุด ดังนั้น
ขนาดความเร็วจากจุด A ถึงจุด 1 =  
ขนาดความเร็วจากจุด 1 ถึงจุด 2 = 
ขนาดความเร็วจากจุด 2 ถึงจุด 3 =     
ขนาดความเร็วจากจุด 3 ถึงจุด 4 = 
ขนาดความเร็วจากจุด 4 ถึงจุด B = 
จะได้ว่าขนาดของการกระจัดระหว่างจุด 2 จุด จะเป็นขนาดของความเร็วในหน่วยเซนติเมตร/ ช่วงจุด ดังนั้น การนำความยาวของแถบกระดาษแต่ละช่วงจุดไปติดบนกระดาษกราฟโดยให้แต่ละแถบห่างเท่า ๆ กัน ก็จะได้กราฟแสดงความสัมพันธ์ของขนาดความเร็ว และเวลานั่นเอง โดยแถบกระดาษมีความยาวเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ  แสดงว่าวัตถุเคลื่อนที่โดยมีขนาดความเร็วเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ
3. วัตถุที่เคลื่อนที่โดยมีขนาดความเร็วไม่คงตัว ขนาดของความเร็วที่ได้ในช่วงเวลาใดจะเป็นขนาดความเร็วเฉลี่ยของช่วงเวลานั้น และจะเป็นขนาดของความเร็วตรงกึ่งกลางเวลานั้นด้วย เช่น
ขนาดความเร็วจากจุด A ถึงจุด 1       = 
= 0.75 เซนติเมตร/วินาที
= ขนาดความเร็วในช่วง 0 –
= ขนาดความเร็วที่เวลา      วินาที
ขนาดความเร็วจากจุด A ถึงจุด 1       =    
= 1.55 เมตร/วินาที
= ขนาดความเร็วเฉลี่ยในช่วง -     วินาที
= ขนาดความเร็วที่เวลา      วินาที
                ดังนั้น จะได้ว่าจากเวลา     วินาที ถึง     วินาที ถุงทรายมีความเร็วเปลี่ยนจาก 0.75 เมตร/วินาที เป็น 1.55 เมตร/วินาที
ขนาดความเร็วที่เปลี่ยนไป = 1.55 – 0.75 = 0.80 เมตร/วินาที
ช่วงเวลาที่ใช้ = -   = 
4. วัตถุที่เคลื่อนที่โดยมีความเร่งคงตัว จะได้ว่าขนาดความเร็วของวัตถุจะเปลี่ยนไปเท่า ๆ กัน ในช่วงเวลาที่เท่ากัน โดยถ้าความเร่งมีทิศเดียวกับทิศการเคลื่อนที่ของวัตถุ ก็จะทำให้วัตถุนั้นเคลื่อนที่เร็วขึ้น แต่ถ้าความเร่งมีทิศตรงข้ามการเคลื่อนที่ของวัตถุ วัตถุนั้นก็จะเคลื่อนที่ช้าลง
สำหรับวัตถุที่เคลื่อนที่ในแนวดิ่ง เมื่อมีแรงดึงดูดของโลกกระทำเพียงแรงเดียว จะได้ว่าความเร่งของวัตถุจะอยู่ในทิศดิ่งลงในทิศเดียวกับทิศของแรง จึงทำให้วัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ขึ้นมีความเร็วลดลง และวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ลงจะมีความเร็วเพิ่มขึ้น


แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 3
รายวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐาน           รหัสวิชา ว33101                          กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
โรงเรียนประสาทรัฐประชากิจ          ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3         ภาคเรียนที่ 1
สาระที่ 4   หน่วยที่ 1                 เรื่อง การตกแบบเสรีและการเคลื่อนที่แนวโค้ง         เวลา 2.00 ชั่วโมง
มาตรฐาน ว 4.2 เข้าใจลักษณะการเคลื่อนที่แบบต่างๆ ของวัตถุในธรรมชาติ มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์   สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
……………………………………………………………………………………………………….
แนวความคิดหลัก
การเคลื่อนที่ของวัตถุนอกจากจะเคลื่อนที่ในแนวตรงแลวยังมีการเคลื่อนที่แบบอื่นอีก เชน การเคลื่อนที่แบบโพรเจคไทล ซึ่งเปนการเคลื่อนที่แนวโคง โดยไดระยะทางในแนวราบและแนวดิ่งพรอม ๆ กัน การเคลื่อนที่ในแนววงกลมซึ่งเปนการเคลื่อนที่ที่มีแรงกระทําตอวัตถุในทิศเขาสู
ศูนยกลาง
 
ตัวชี้วัด
                1.สังเกตและอธิบายการเคลื่อนที่ของวัตถุที่เป็นแนวตรง และแนวโค้ง  (4.2-3)
 จุดประสงค์การเรียนรู้

1. ทดลองและอธิบายการเคลื่อนที่ของวัตถุที่เป็นแนวตรง และแนวโค้ง  (การตกแบบเสรี ภายใต้ความโน้มถ่วงของโลก/ การเคลื่อนที่แบบโพรเจคไทล์/ การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย/ การเคลื่อนที่แบบวงกลม/ การเคลื่อนที่บนทางโค้ง)
 เนื้อหา (รายละเอียดของเนื้อหาอยู่ในใบความรู้ที่ 2)
- การตกแบบเสรีและการเคลื่อนที่แนวโค้ง   
 กระบวนการจัดการเรียนรู้
1. ขั้นสร้างความสนใจ
                ครูทบทวนความรู้เดิมที่เรียนเมื่อคาบที่ผ่านมาเกี่ยวกับ การเคลื่อนที่แนวตรงด้วยความเร่งคงที่ โดยเมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างแรงลัพธ์และความเร่ง ควรได้ข้อสรุปว่าเมื่อมีแรงกระทำต่อวัตถุจะทำให้วัตถุเคลื่อนที่โดยมีความเร่ง โดยความเร่งจะมีทิศเดียวกับทิศของแรงลัพธ์เมื่อมีแรงกระทำต่อวัตถุนอกจากจะทำให้วัตถุมีความเร่งแล้ว แรงที่กระทำยังมีผลต่อลักษณะการเคลื่อนที่ของวัตถุอีกด้วย ซึ่งจะได้ศึกษาในคาบเรียนวันนี้
  
2. ขั้นสำรวจและค้นหา
1. ครูตั้งประเด็นให้ผู้เรียนอภิปรายว่าเมื่อวัตถุตกสู่พื้นมีแรงกระทำอะไรบ้าง แรงลัพธ์ของแรงที่กระทำต่อวัตถุอยู่ในทิศใด รู้ได้อย่างไร ซึ่งจากการอภิปรายควรได้ข้อสรุปว่า ขณะที่วัตถุตกสู่พื้นมีแรงที่โลกดึงดูดวัตถุและแรงต้านอากาศ แรงลัพธ์ของแรงทั้งสองอยู่ในทิศดิ่งลง เนื่องจากถ้ามีแรงกระทำต่อวัตถุที่หยุดนิ่ง วัตถุจะเคลื่อนที่ไปในทิศเดียวกับแรงลัพธ์ และให้ศึกษาความรู้เรื่อง การตกแบบเสรี ภายใต้ความโน้มถ่วงของโลก ในใบความรู้ที่ 2
2. ครูตั้งประเด็นให้ผู้เรียนวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างแรงลัพธ์และความเร่ง ควรได้ข้อสรุปว่าเมื่อมีแรงกระทำต่อวัตถุจะทำให้วัตถุเคลื่อนที่โดยมีความเร่ง โดยความเร่งจะมีทิศเดียวกับทิศของแรงลัพธ์เมื่อมีแรงกระทำต่อวัตถุนอกจากจะทำให้วัตถุมีความเร่งแล้ว แรงที่กระทำยังมีผลต่อลักษณะการเคลื่อนที่ของวัตถุอีกด้วย ครูตั้งประเด็นให้ผู้เรียนอภิปรายเกี่ยวกับลักษณะการเคลื่อนที่ของลูกบอลที่ขว้างออกไปในแนวระดับในประเด็นต่อไปนี้
                     - เมื่อขว้างลูกบอลออกไปลูกบอลมีความเร็วหรือไม่ ในทิศใด (มีในแนวระดับ)
                     - ถ้าโลกไม่มีแรงดึงดูด ลูกบอลจะเคลื่อนที่อย่างไร (เคลื่อนที่ต่อไปในแนวตรงโดยไม่ตกลงมา)
      - เมื่อขว้างลูกบอลออกไป ลูกบอลเคลื่อนที่อย่างไร ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
                จากการอภิปรายผู้เรียนควรสรุปได้ว่า แรงดึงดูดของโลกทำให้วัตถุมีความเร็วในแนวดิ่งเพิ่มขึ้น จึงทำให้วัตถุเคลื่อนที่ในแนวโค้ง ครูให้ความรู้ว่าการเคลื่อนที่ในแนวโค้งนี้ เรียกว่าโค้งแบบโพรเจคไทล์                
                3. ครูชี้ให้นักเรียนเห็นว่า ลูกบอลที่เคลื่อนที่แบบโพรเจคไทล์การเคลื่อนที่ในแนวดิ่งจะเหมือนการตกแบบเสรีของวัตถุ ส่วนการเคลื่อนที่ในแนวระดับ วัตถุจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงตัว และการเคลื่อนที่ในแนวดิ่งและแนวระดับของวัตถุที่เคลื่อนที่แบบโพรเจคไทล์ไม่ขึ้นต่อกัน
รูปแสดงการกระจัดในแนวดิ่งและการกระจัดในแนวระดับที่ลูกบอลทั้งสองเคลื่อนที่ได้

4. ครูให้ผู้เรียนยกตัวอย่างการเคลื่อนที่แบบโพรเจคไทล์ที่พบในชีวิตประจำวัน 
                5. ครูนำอภิปรายและให้ความรู้นักเรียนเกี่ยวกับ การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย โดยอาจยกตัวอย่างเกี่ยวกับลูกตุ้มนาฬิกา หรือการแกว่งไกวของชิงช้า การยืดหดของขดลวดสปริง
เป็นต้น ซึ่งการกระจัด ความเร็วและความเร่งของวัตถุ ณ ตำแหน่งต่างๆ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยจะมีความเร่งเข้าหาตำแหน่งสมดุลตลอดเวลา
เป็นต้น ซึ่งการกระจัด ความเร็วและความเร่งของวัตถุ ณ ตำแหน่งต่างๆ เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา โดยจะมีความเร่งเข้าหาตำแหน่งสมดุลตลอดเวลา

6. ครูให้ผู้เรียนแกว่งวัตถุให้เคลื่อนที่แบบวงกลม (หรืออาจแกว่งแก้วน้ำ(พลาสติก) ซึ่งมีฐานรองและผูกเชือก โดยเริ่มจากการแกว่งช้าๆและเร็วขึ้น) แล้วอภิปรายเกี่ยวกับการเคลื่อนที่เป็นวงกลมของลูกบอลว่า ขณะที่ลูกบอลเคลื่อนที่ในแนววงกลม ถ้าปล่อยมือที่ดึงเชือกลูกบอลจะเคลื่อนที่อย่างไร จนได้ข้อสรุปว่าถ้าปล่อยมือที่ดึงเชือกลูกบอลจะเคลื่อนที่ไปในแนวตรงแล้วจึงตกลงในแนวโค้ง แสดงว่าลูกบอลจะเคลื่อนที่เป็นวงกลมได้ต้องมีแรงดึงลูกบอลในทิศพุ่งเข้าหาจุดศูนย์กลาง ครูให้ความรู้ว่าเรียกแรงนี้ว่าแรงสู่ศูนย์กลาง
7. ครูสอบถามนักเรียนว่า การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่ายและการเคลื่อนที่แบบวงกลม มีสิ่งใดเหมือนกัน (การเคลื่อนที่ซ้ำตำแหน่งเดิม)
                8. ครูนำอภิปรายโดยตั้งคำถามว่า นักเรียนเคยสังเกตสิ่งเหล่านี้บ้างหรือไม่ นักแข่งรถจักรยานยนต์ทำไมต้องเอียงรถขณะเลี้ยวโค้ง และยิ่งใช้ความเร็วสูงยิ่งต้องเอียงรถมาก ทางโค้งทั่วไปทำไมต้องยกขอบถนนด้านนอกให้สูงกว่าด้านใน ทำไมสนามแข่งรถจักรยานจึงต้องทำเป็นพื้นเอียง เป็นต้น
9. ครูให้ผู้เรียนศึกษาเรื่องการเลี้ยวโค้งบนถนนราบของรถจักรยานยนต์ โดยสรุปได้ว่าแรงเสียดทานด้านข้างของล้อเป็นแรงสู่ศูนย์กลางทำให้รถจักรยานยนต์สามารถเลี้ยวได้ และตอบคำถาม
     - เมื่อสังเกตคนที่ขี่รถจักรยานยนต์เลี้ยวโค้งบนถนนราบด้วยความเร็วสูง ถ้าไม่เอียงตัวเองและรถไปทางด้านที่จะเลี้ยวไป จะเกิดผลอย่างไร เพราะเหตุใด
( รถจะล้ม เพราะขณะที่รถเลี้ยวโค้ง
มีแรงที่พื้นดันล้อในแนวดิ่ง ()และแรงเสียดทานด้าน
ข้างล้อ (r) ทำให้แรงลัพธ์ที่พื้นกระทำต่อล้อ ( ) 
ทำมุมกับแนวดิ่ง ดังรูป  รถจึงต้องเอียงในแนวเดียวกับ R)


                10. ครูเปิดโอกาสให้นักเรียนสอบถามเนื้อหา เรื่อง การตกแบบเสรีและการเคลื่อนที่แนวโค้ง ว่ามีส่วนไหนที่ไม่เข้าใจและให้ความรู้เพิ่มเติมในส่วนนั้น   




3. ขั้นลงข้อสรุป
                1. ครูสอบถามนักเรียนด้วยประเด็นต่างๆ ดังนี้
     1) การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ มีแนวการเคลื่อนที่ลักษณะใด (แนวโค้งพาราโบลา)
     2) การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ประกอบด้วยการเคลื่อนที่ในแนวใดบ้าง
(การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ ประกอบด้วยการเคลื่อนที่ในแนวดิ่งและในแนวระดับ)
                     3) ในการเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ ความเร็วของวัตถุในแนวดิ่ง ขึ้นกับความเร็วของวัตถุในแนวระดับหรือไม่ อย่างไร(การเคลื่อนที่ในแนวดิ่ง ไม่ขึ้นกับความเร็วของวัตถุในแนวระดับ กล่าวคือ การเคลื่อนที่ในแนวดิ่งจะเหมือนการตกแบบเสรีของวัตถุ ส่วนการเคลื่อนที่ในแนวระดับ วัตถุจะเคลื่อนที่ด้วยความเร็วคงตัว)
                     4) การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย มีลักษณะการเคลื่อนที่อย่างไร (การเคลื่อนที่กลับไปกลับมา โดยมีความเร่ง)
                     5) ความเร่งของการเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย แปรผันตรงกับสิ่งใด (การกระจัดจากจุดสมดุล)
                     6) วัตถุที่กำลังเคลื่อนที่เป็นวงกลมด้วยอัตราเร็วสม่ำเสมอ มีความเร่งหรือไม่ (มี ทิศเข้าสู่ศูนย์กลาง)
                     7) เมื่อเอาเชือกผูกวัตถุแล้วแกว่งให้เคลื่อนที่เป็นวงกลม แรงที่ทำหน้าที่เป็นแรงสู่ศูนย์กลาง คือ แรงใด (แรงที่เชือกดึงวัตถุ)
                      8) ในการเคลื่อนที่บนทางโค้งของรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ มีแรงใดทำหน้าที่เป็นแรงสู่ศูนย์กลาง (ขณะรถยนต์แล่นเลี้ยวโค้ง  มีแรงเสียดทานสถิตระหว่างถนนกับขอบยางด้านข้างทำหน้าที่เป็นแรงสู่ศูนย์กลาง )
                      9) ทำไมเราจึงสร้างถนนโค้งให้มีผิวเอียง โดยขอบถนนด้านนอกสูงกว่าด้านใน           
                    ( แรงเสียดทานระหว่างถนนกับยางรถยนต์ด้านข้างซึ่งทำหน้าที่เป็นแรงสู่ศูนย์กลางมีค่าจำกัดถ้ารถเลี้ยวด้วยอัตราเร็วสูงหรือรัศมีสั้นแรงเสียดทานอาจมีค่าไม่เพียงพอ จะทำให้รถไถลออกนอกโค้งการทำถนนโค้งให้มีผิวเอียงโดยขอบถนนด้านนอกสูงกว่าด้านใน จะทำให้ได้แรงสู่ศูนย์กลางมีค่ามากกว่าแรงเสียดทานระหว่างถนนกับยางรถยนต์)
                2. ครูมอบหมายให้นักเรียนไปศึกษาความรู้ เรื่อง แรงคู่กิริยา-ปฏิกิริยา ซึ่งจะเรียนในคาบต่อไปมาล่วงหน้า
สื่อและแหล่งการเรียนรู้

                1. แบบทดสอบก่อน-หลังเรียน
2. ใบความรู้ที่ 2 เรื่อง การตกแบบเสรีและการเคลื่อนที่แนวโค้ง   
                3. ชุดสาธิตการเคลื่อนที่แบบวงกลม (แก้วน้ำ ฐานรองและเชือก)
การประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน 
                การเลี้ยวโค้งบนถนนเอียงจะปลอดภัยกว่าบนถนนราบ แต่ผู้ขับขี่ก็ไม่ควรประมาท จะต้องขับรถด้วยความระมัดระวัง และแล่นเลี้ยวโค้งด้วยความเร็วไม่เกินขนาดที่กำหนด ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้ถนนทุกคน

การวัดผลประเมินผล


การวัดผลประเมินผลด้าน
วิธีการวัด
เครื่องมือวัด
เกณฑ์การผ่าน
1.ด้านความรู้ความเข้าใจ
1.วัดจากแบบทดสอบก่อน-หลังเรียน

1. แบบทดสอบก่อน-หลังเรียน

1. ตอบคำถามถูกมากกว่าหรือเท่ากับ 60% ข้อขึ้น
2. ด้านทักษะกระบวนการ
ประเมินจากทักษะการทดลอง การออกแบบการทดอง
แบบประเมินด้านทักษะการทำงาน
ได้คะแนนในระดับ 2 ขึ้นไป
3.  ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์
การสังเกตพฤติกรรมความสนใจ และตั้งใจเรียน
แบบสังเกตพฤติกรรมความสนใจและตั้งใจเรียน
ได้คะแนนในระดับ 2 ขึ้นไป

กิจกรรมเสนอแนะ ::
1. วัตถุที่เคลื่อนที่โดยมีความเร่งคงตัว จะได้ว่าขนาดความเร็วของวัตถุจะเปลี่ยนไปเท่า ๆ กัน ในช่วงเวลาที่เท่ากัน โดยถ้าความเร่งมีทิศเดียวกับทิศการเคลื่อนที่ของวัตถุ ก็จะทำให้วัตถุนั้นเคลื่อนที่เร็วขึ้น แต่ถ้าความเร่งมีทิศตรงข้ามการเคลื่อนที่ของวัตถุ วัตถุนั้นก็จะเคลื่อนที่ช้าลง
สำหรับวัตถุที่เคลื่อนที่ในแนวดิ่ง เมื่อมีแรงดึงดูดของโลกกระทำเพียงแรงเดียว จะได้ว่าความเร่งของวัตถุจะอยู่ในทิศดิ่งลงในทิศเดียวกับทิศของแรง จึงทำให้วัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ขึ้นมีความเร็วลดลง และวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ลงจะมีความเร็วเพิ่มขึ้น
2. การเคลื่อนที่แบบโพรเจคไทล์ เป็นการเคลื่อนที่ที่มีความเร็ว 2 แนว พร้อม ๆ กัน คือ  แนวราบ และแนวดิ่ง ในแนวราบความเร็วคงตัว ในแนวดิ่งความเร็วไม่คงตัวจะมีความเร่ง เพราะมีแรงดึงดูดของโลกกระทำต่อวัตถุ วัตถุจะเคลื่อนที่ตามแนวของความเร็วลัพธ์ทำให้วัตถุเป็นวิถีโค้ง ดังรูป
3. ความเร็วของวัตถุที่เคลื่อนที่วงกลมจะมีทิศในแนวเส้นสัมผัสของวงกลม เช่น ผูกวัตถุไว้กับเชือก เมื่อจับปลายเชือกอีกด้านหนึ่งแล้วเหวี่ยงวัตถุให้เคลื่อนที่วงกลม ถ้าปล่อยมือ ณ ตำแหน่งใด วัตถุจะเคลื่อนที่ไปในแนวเส้นสัมผัสวงกลมของจุดนั้น ดังรูป
เมื่อปล่อยมือขณะวัตถุอยู่ที่ตำแหน่ง B วัตถุก็จะเคลื่อนที่ตรงออกไปตามทิศของความเร็วของจุด B แต่ถ้ายังคงถือเชือกไว้จะมีแรงที่เชือกดึงวัตถุในทิศตั้งฉากกับทิศของความเร็ว โดยมีทิศเข้าสู่ศูนย์กลางทำให้วัตถุเปลี่ยนทิศและเคลื่อนที่เป็นวงกลมต่อไป
4. ขณะที่รถกำลังเลี้ยวจะเกิดแรงเสียดทานกระทำต่อล้อรถทางด้านซ้าย (r ) มีทิศเข้าสู่ศูนย์กลาง ทำให้รถสามารถเลี้ยวได้ เมื่อพิจารณาที่ล้อ นอกจากจะมีแรงเสียดทานกระทำต่อด้านข้างล้อแล้ว ยังมีแรงที่พื้นกระทำต่อรถในแนวดิ่ง (เมื่อรวมแรงสองแรงนี้เข้าด้วยกันแบบเวกเตอร์ จะได้แรงลัพธ์ R ซึ่งทำมุมกับแนวดิ่ง ดังภาพ ก. ในการเลี้ยวรถจึงต้องเอียงตัวรถและคนเพื่อให้แนวแรง  ผ่านจุดศูนย์ถ่วงของรถและคน จะได้ไม่เกิดโมเมนต์ของแรง รถจะได้ไม่ล้มดังภาพ ข.
ภาพ 2.12  แรงที่กระทำต่อรถขณะเลี้ยวโค้ง

1 ความคิดเห็น:

  1. The King Casino - Atlantic City, NJ | Jancasino
    Come on in the King Casino for fun, no wagering requirements, febcasino delicious dining, and enjoyable casino casinosites.one gaming all at poormansguidetocasinogambling the https://jancasino.com/review/merit-casino/ heart of Atlantic City.

    ตอบลบ